วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่2บทที่3-6

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2 บทที่3-6
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ
1.ด้านการวางแผน
2.ด้านการตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
-ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาวกำหนดทิศทางเป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กร
-ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่รับนโยบายและแผนระยะยาวที่ผู้บริหารระดับสูงได้วางไว้มาวางแผนระยะสั้น โดยเชื่อมโยงกลยุทธ์และนโยบายของผู้บริหารระดับสูงมาเชื่อมต่อกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้นให้เป็นรูปธรรม
-ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการ มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนนโยบายควบคุมดูแลและแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม
3.ด้านการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1.ระบบประมวลผลรายการ (TPS)เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการผลิตสารสนเทศจัดการเกี่ยวกับรายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยทำการประมวลผลข้อมูลเฉพาะส่วนขององค์กรมีการเก็บข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกันเป็นระบบที่เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการระบบสารสนเทศที่ได้จะสร้างเป็นรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)เป็นระบบทีผลิตสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ มีการสร้างฐานข้อมูลเพราะใช้ข้อมูลจากหลายๆฝ่ายรวมกัน จุดเน้นคือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่เตรียมได้จาก TPS มาทำเป็นรายงานสรุปหรือรายงานพิเศษให้ผู้บริหารเพื่อช่วยในการวางแผนและการตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกระดับขององค์กร แต่ระดับที่เหมาะสมที่สุดคือผู้บริหารระดับกลาง
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS)เกี่ยวข้องกับระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ระบบประชุมทางไกลและระบบสนับสนุนสำนักงาน
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับช่วยให้ผู้บริหารพิจารณาว่าจะตัดสินใจในเรื่องหนึ่งๆอย่างไรดี DSSพัฒนามาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยเพิ่มตัวแบบไว้ในระบบซึ่งได้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร
5.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เข้าใจง่ายใช้งานได้ง่ายโดยผ่านรูปแบบของการสื่อสารและกราฟิกที่ทันสมัยสามารถจัดทำสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4.เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางธุรกิจอย่างมาก

ผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวก
1.ทำให้ชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2.ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก และรวดเร็ว
3.ช่วยทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา
4.นำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5.ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง

ผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่ลบ
1.มีผลกระทบทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเกิดความขัดแย้งระหว่างแนวคิดเก่ากับแนวคิดใหม่
2.มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น มีการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น เนื่องจากขาดคุณธรรมจริยธรรม และความมีน้ำใจลดน้อยลง
3.อัตราการจ้างงานลดลง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง โดยการนำมาพัฒนาทางด้านการเมือง ดังนี้
1.การเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว
2.การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมืองต่างๆ แนวความคิดของพรรคการเมือง
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการเปิดรับข่าวสารต่างๆทั้งในและนอกประเทศ
การจัดการความรู้ ( KM) กระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา
กลยุทธ์ คือการแสวงหาแนวทางให้องค์กรเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่สำคัญที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
1.เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ 2.การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ 3.การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า
กระบวนการจักการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1.การวิเคราะห์กลยุทธ์ 2.การจัดทำกลยุทธ์ 3.การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
การวิเคราะห์กลยุทธ์
1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน 1.1 จุดแข็ง 1.2 จุดอ่อน
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก 2.1โอกาส 2.2 อุปสรรค
วงจร Balanced Scorecard
1.มุมมองด้านการเงิน 2.มุมมองด้านลูกค้า 3.มุมมองด้านกระบวนการภายใน 4.มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
1.เพิ่มปริมาณการขาย 2.การลดต้นทุนการผลิต 3.การเพิ่มผลผลิต 4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและการบริการ 5.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
องค์ประกอบของการจัดนวัตกรรมทางการศึกษา
1.โครงสร้างองค์กร 2. บุคลากร 3.กระบวนการ 4.กลยุทธ์และยุทธวิธี 5.เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
1.ความเป็นเลิศของบุคคล 2.ความเป็นเลิศของทีมงาน 3.ความเป็นเลิศขององค์กร
หลักการของนวัตกรรมทางการศึกษา
1.นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด 2.นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 3.ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้ 4.ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม 5.ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น
กระบวนการสร้างนวัตกรรม
1.สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นของนวัตกรรม 2.จุดประกายนวัตกรรม 3.การสร้างนวัตกรรม 4.การนำเอานวัตกรรมไปใช้
การใช้นวัตกรรมใหม่ภายในองค์กร ตามองค์กรนวัตกรรมที่ยางยืน สรุปได้ว่า การพัฒนาคนเป็นพื้นฐานที่สำคัญในองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่ยั่งยื่น มีปัจจัยได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนการทำนวัตกรรมอย่างจริงจัง มีการทำแผนที่เส้นทางการทำนวัตกรรม โดยใช้บุคลากรจากสำนักงานต่างๆ และมีการสนับสนุนให้บุคลากรทำนวัตกรรม องค์ประกอบต้องภายใต้วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ สำหรับนวัตกรรม โดยมีวัฒนธรรมอง๕กรที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการ การปฏิบัติ ระบบ ตลอดจนนวัตกรรมสนับสนุนให้เป็นองค์กรนวัตกรรมที่ยั่งยืน
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ
1.การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web Based Learning) คุณสมบัติ ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนออยู่ในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย
2.การนำเสนอบทเรียนออนไลน์(e-Learning) คือการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-โมบายเลิร์นนิ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นของ e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย เรียกการเรียนแบบนี้ว่า m- Learning
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของประเทศไทย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ชื่อว่า สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (Suan Dusit Internet Broadcasting:SDIB ) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยบริการเผยแพร่ความรู้ และบริการวิชาการสู่สังคมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ห้องสมุดเสมือนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานทางวิชาการ และการวิจัยของคณาจารย์และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษาในการเข้าใช้ห้องสมุดเสมือนสืบค้นฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำรายงาน และการจัดทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น