วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทคัดย่องานวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษา

ชื่อวิทยานิพนธ์:การสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายในการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
ชื่อนักศึกษา:ทองย้อย เชียงทอง
สถาบัน:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญา:มหาบัณฑิต
หลักสูตร:ศึกษาศาสตร์
สาขา:วิชาพลศึกษา
ปี:2551
ISBN:796.071ท298ก
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด:http://www.library.swu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย1.เพื่อสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนพลศึกษาโดยการใช้สื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชายที่มีความบกพร่องทางการเห็นช่วงชั้นที่1ของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพปีการศึกษา2550จำนวน24คนดำเนินการวิจัยโดยการสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายแนวนำไปทดลองใช้ตามโปรแกรมการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา8สัปดาห์ทำการทดสอบผลการทดลองใช้นวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนพลศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อการวิจัยครั้งนี้มี3สวน คือนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายโปรแกรมการสอนพลศึกษาแบบอธิบายและสาธิตและแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนพลศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนพลศึกษาโดยใช้สถิติที(Independent samples t-test and Paired t-test)
ผลการศึกษาพบว่า:
นวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.౮౭ ซี่งอยู่ในระดับสูง เมื่อทำนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50

เอกสารอ้างอิง

ทองย้อยเชียงทอง.(2551).การสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายในการเรียน
การสอนพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยา
ลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
1.ทำให้ทราบแหล่งข้อมูลในการค้นหางานวิจัยบทคัดย่องานวิจัยจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2.ทำให้ทราบวิธีและรูปแบบในการเขียนงานวิจัยที่ถูกต้อง
3.เข้าใจวิธีการเขียนแหล่งอ้างอิงของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษางานวิจัยไปพัฒนาการศึกษาในอนาคต
5.สามารถนำความรู้มาบูรณาการและต่อยอดกับสาขาวิชาการอื่นได้
6.สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ในการทำงานวิจัยในอนาคตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น